วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างของการค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ (International trade) หมายถึง การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้ จึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง การค้าระหว่างประเทศ มีลักษณะพิเศษไม่เหมือนกับการค้าภายในประเทศอยู่หลายประการ เช่น ผู้ซื้อกับผู้ขายอยู่ห่างกันไกลๆ คืออยู่กันคนละประเทศ ดังนั้นการติดต่อกันจึงไม่สะดวกเหมือนกับการค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในประเทศเดียวกัน หรือในเมืองเดียวกัน ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ปฏิบัติทางการค้าของทั้งสองฝ่ายแตกต่างกัน ความไว้เนื้อเชื่อใจกันอาจมีน้อย ในระยะแรกๆ นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคอื่นๆ เช่น ต้องมีการส่งสินค้าข้ามเขตแดนจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง การบรรจุสินค้า และ จัดหาพาหนะที่บรรทุกสินค้า ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับการโอนเงินข้ามประเทศ (Exchange control regulations) เป็นต้น    แต่      การตลาดระหว่างประเทศ(International Marketing) เป็นกระบวนการวางแผนกระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคาการจัดช่องทางการจัดจำหน่ายการส่งเสริมทางการตลาดเพื่อให้สินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในนานาประเทศ
ดังนั้น การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ

5 ความคิดเห็น: