ตลาดกล้วยไม้...การค้าในตลาดโลก
กล้วยไม้จัดเป็นสินค้าไม้ดอกไม้ประดับซึ่งเป็นที่นิยมสูงในตลาดโลกและเป็นสินค้า Product Champion ที่สำคัญของไทย ทั้งนี้ธุรกิจการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ของไทยสามารถสร้างรายได้นำเงินเข้าสู่ประเทศได้เป็นจำนวนมาก และการส่งออกกล้วยไม้ของไทยยังคงมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่อง สำหรับความต้องการกล้วยไม้ตัดดอกยังคงมีมากขึ้นโดยเฉพาะการใช้สำหรับประดับอาคารสถานที่และใช้ตกแต่งอาหารในธุรกิจบริการ โรงแรม ภัตตาคาร และร้านอาหารต่างๆ ทั้งนี้ไทยเองมีจุดแข็งในฐานะเป็นประเทศผู้ส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกเมืองร้อนที่มีสัดส่วนสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกมาโดยตลอด ขณะที่การผลิตกล้วยไม้ของไทยยังคงเผชิญปัจจัยเสี่ยงหลายประการจากปัญหาต้นทุนการผลิตและต้นทุนค่าขนส่งที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันที่ทยอยปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาโรคแมลงศัตรูพืช และความเสี่ยงจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่ประเทศคู่ค้านำมาบังคับใช้ในการนำเข้าสินค้าเข้าไปจำหน่ายในประเทศของตน
ตลาดการค้ากล้วยไม้
ไทยครองสัดส่วนส่งออกกล้วยไม้อันดับ 1 ของโลก
สำหรับมูลค่าการค้ากล้วยไม้ของโลกปี 2550 สูงกว่า 155 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,337 ล้านบาท) โดยไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกอันดับหนึ่งของโลกโดยเฉพาะกล้วยไม้เมืองร้อน และในปี 2550 ไทยมีสัดส่วนส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกสูงถึงร้อยละ 70 ของตลาดโลก รองลงมาได้แก่ สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย เป็นต้น
http://www.positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?id=68935
แก้ไขแล้วครับ
วิเคราะห์ SWOT ของการส่งออกกล้วยไม้ไปยังประเทศอังกฤษ
จุดแข็ง
1.สภาพภูมิอากาศของประเทศไทยเหมาะกับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้มากว่าประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษมีภูมิอากาศที่หนาวจึงไม่ค่อยเหมาะสมที่จะปลูกกล้วยไม้ถ้าจะผลิตกล้วยไม้ทำให้เสียทรัพยากรเยอะกว่าไทย
2.ประเทศไทยมีธุรกิจการเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่สามารถผลิตต้นพันธุที่มีคุณภาพและราคาต่ำกว่าประเทศคู่แข่งรวมทั้งเกษตรกรบางส่วนสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและปรับปรุงสายพันได้เอง
3.เรามีแรงงานและทรัพยากรเพียงพอในการปลูกและแตกสายพันธุ์ใหม่ๆเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมแต่อังกฤษเป็นประเทศอุตสาหกรรมเราจึงสามารถผลิตกล้วยได้ต้นทุนต่ำกว่าประเทศอังกฤษ
จุดอ่อน
1.หลายๆประเทศที่เป็นคู่แข่งในการส่งออกกล้วยไม้ได้มีการลงทุนในการวิจัยและสร้างเทคโนโลยีอย่างจริงจังในการแตกสายพันธุ์กล้วยไม้ใหม่ๆจึงทำให้มีความหลากหลายของสินค้า แต่ประเทศไทยยังตามหลังในเรื่องของเทคโนโลยีการแตกสายพันธุ์ใหม่ๆอยู่จึงอาจทำให้เสียกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการแตกต่างได้
2.การปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ให้หลากหลายในประเทศไทยยังทำกันน้อยมากถ้าเปรียบกับประเทศคู่แข่ง และเมื่อได้พันธุ์ใหม่ยังต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปีถึงจะรู้ว่าพันธุ์นั้นมีอนาคตหรือเป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่
3.คุณภาพไม่สม่ำเสมอและลดต่ำลงเมื่อถึงมือผู้บริโภคเนื่องจากขาดการจัดการที่มีประสิทธิภาพในระดับสวน/ฟาร์ม เช่น การตัดดอกในขณะที่ยังมีจำนวนดอกบานน้อย และมีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่ไม่เหมาะสม เช่น การรมสาร Methyl bromide เพื่อแก้ปัญหาเพลี้ยไฟในกล้วยไม้ส่งออก
โอกาส
1.ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกล้วยไม้ในประเทศไทยมีประมาณ 20,000 ไร่ โดยเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1-2 ต่อปีและประเทศไทยยังมีอุณหภูมิที่เหมาะสมเป็นอย่างมากในการปลูกกล้วยไม้ เราจึงมีข้อได้เปรียบในเรื่องของโอกาสของภูมิประเทศและภูมิอากาศ
2.รัฐบาลของประเทศไทยมีการให้การสนับสนุนในเรื่องของธุรกิจการส่งออก
3.ความต้องการดอกกล้วยไม้ในประเทศอังกฤษมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแต่ไม่ถึงกับมากและประเทศอังกฤษเป็นประเทศที่มั่นคงและเจริญจำมีกำลังการซื้อที่ดี
อุปสรรค
1.เนื่องจากการขนส่งกล้วยไม้นั้นจะต้องมีการรักษาอุณหภูมิจึงจำเป็นจะต้องอาศัยขนส่งทางเครื่องบินทางเดียวจึงมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัดทำให้มีข้อจำกัดในการขนส่ง
2.เนื่องจากในปัจจุบันมีการแข่งขันในเรื่องของราคาที่รุนแรงจึงทำให้ต้องมีการปรับกลยุทธุ์ในเรื่องของราคาตลอดเวลาดังนั้นอาจจะทำให้ไม่ได้กำไรตามที่ตั้งเป้าไว้ และบางครั้งการตั้งราคาก็ขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย
3.สนามบินไม่มีคลังห้องเย็นที่มีอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับพักสินค้าระหว่างรอการส่งออกทำให้คุณภาพสินค้าด้อยลงเมื่อถึงปลายทาง